วันอังคารที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2561
ทำไมต้องทำเว็บไซต์?? ตอนที่ 9 เรื่อง แปลภาษาไทยไปต่างภาษา
การทำเว็บไซต์ เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นอีกครั้ง สำหรับผม เพราะเริ่มมีโจทย์ใหม่ๆเข้ามาให้ท้าทายอยู่เรื่อยๆ
ทำให้ผมต้องกลับมามองว่า ประเทศไทยของเรามีจุดแข็งอะไรบ้าง ในการที่จะทำเว็บไซต์ เสนอข้อมูลไปยังต่างประเทศ
จุดแข็งของบ้านเรา เท่าที่ผมพอนึกได้ และ มีฝรั่งชื่นชมมา แบบคิดไม่เข้าข้างตัวเอง คือ การท่องเที่ยว และเรื่องของอาหาร
จากเครื่องมือที่ผมได้ทดสอบ เครื่องมือแปลภาษาไทยในเว็บไซต์ เป็นภาษาต่างประเทศกว่า 15 ภาษาหลักๆ เท่าที่ได้ทดลองสอบถามผู้ใช้งานจริงคือ
1.ภาษาจีน คนจีนบอกว่า อ่านเข้าใจ รู้เรื่อง ถ้านับคะแนน 1-100 บอกว่า เข้าใจ 90 กว่า % ขึ้นไป
2.ภาษาอังกฤษบอกว่า เข้าใจเกือบเต็ม 100%
(ภาษาลาว เขมร พม่า มาเลย์ เวียดนาม อินเดีย อิตาลี ฝรั่งเศส และอื่นๆ อยู่ในระหว่างหาเพื่อนในชาตินั้นมาช่วยทดสอบครับ)
นั่นเป็นเพราะว่า ส่วนหนึ่งมาจากการที่เราจะเขียนภาษาไทยอะไรลงไปในเว็บไซต์
ประสบการณ์ได้สอนเราว่า เราต้องคิดเผื่อไว้ด้วยว่า เอาแบบตรงๆ อย่าใช้วลีเยอะ ออกแนวๆ ว่า ประธาน-กิริยา-กรรมเลย (ไวยากรณ์ภาษาไทย เห้อ ยากไปอีก)
การเขียนภาษาไทยแนวอธิบายแบบไม่มีจุดสิ้นสุด ขาดความกระชับจะทำให้เครื่องการแปลภาษาทำงานยากขึ้นมาก google translate engine ไม่ใช่ว่า ไม่ฉลาดแต่เขาจะใช้เวลาแปลเว็บเรานานขึ้น เพื่อสรุปใจความให้กระชับ เข้าใจง่าย และมีการพัฒนาตลอด
ดังนั้น ก่อนเราจะเขียนอะไรให้เป็นภาษาหลัก เพื่อนำไปแปลต่อเป็นภาษาต่างประเทศหลายภาษา..ก็ต้องค่อยๆ บรรจงเขียน เรียบเรียง ตกผลึก เพราะว่า การทำงานครั้งเดียว อาจจะช้านิดหนึ่ง แต่คุ้มครับ และคำโบราณที่ว่า ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัวมีจริง
การใช้เว็บไซต์เป็นใบเบิกทางไปแจ้งเกิดเปิดธุรกิจยังต่างประเทศด้วยเครื่องมือแปลภาษา และธุรกิจประเภทการท่องเที่ยว หรือธุรกิจขายอาหาร ผัก ผลไม้ หรืออาหารเสริมต่างๆ เป็นต้นถือว่า น่าสนใจและน่าใช้เครื่องมือนี้เลยทีเดียวครับ
ก่อนจบบทความนี้ ขอนำพุทธภาษิตมาฝากอีกเช่นเคยครับ
อนิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ.
ประโยชน์ย่อมสำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยไม่เบื่อหน่าย .
———————————–
#นายการตลาดทีม
#ที่ปรึกษาด้านการตลาด
ปล. กำลังพัฒนาระบบคำนวณค่าขนส่ง + ราคาสินค้า ที่ส่งไป ตปท. โปรดอดใจรอสักครู่
ทำไมต้องทำเว็บไซต์ ตอนที่ 8 แอดมิน (บุคคลสำคัญที่ถูกมองข้าม)
เรื่องที่คนทำธุรกิจ ไม่ควรมองข้าม !!!!!!ทำไมต้องทำเว็บไซต์ ตอนที่ 8 แอดมิน (บุคคลสำคัญที่ถูกมองข้าม)
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน บทความ Series ทำไมต้องทำเว็บไซต์… ก็ได้เดินทางมาถึงตอนที่ 8 แล้ว วันนี้ ผมจะยกเรื่องของแอดมิน หรือ ผู้ที่มีหน้าที่ คอยดูแลอัพเดท เนื้อหาของเว็บไซต์ มาเล่าสู่กันฟัง…
…. ปกติการทำเว็บไซต์ จะเริ่มต้น จากการวางแผนก่อน ว่า เราจะทำเว็บไซต์แบบไหนเป็นเว็บไซต์สำหรับองค์กร เพื่อสื่อสารกับลูกค้า หรือว่า เป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ เพื่อ ขายสินค้า..จากนั้น เว็บไซต์ก็จะถูกออกแบบ โดย web
designer (เว็บดีไซน์เนอร์) และมาประกอบรูปร่าง ขึ้นมา โดยเว็บโปรแกรมเมอร์ ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ก็จะใช้เวลา นานพอสมควร ขึ้นอยู่กับว่า โปรแกรมเมอร์ มีความชำนาญ ในเครื่องไม้เครื่องมือ ในการสร้างเว็บ มากแค่ไหน..
โดยปกติทั่วไป เว็บไซต์ก็จะมีระบบหน้าบ้าน คือหน้าตาของเว็บ เช่น
1.หน้า แรก หรือหน้า homepage
2. หน้าเกี่ยวกับเรา
3. หน้าประชาสัมพันธ์
4. หน้าบริการของเรา
5. หน้าติดต่อเรา
หรือบางเว็บที่พิเศษหน่อย ก็อาจจะมี หน้าอื่นๆเพิ่มเติมขึ้นมา เป็น Option เสริมอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือระบบหลังบ้าน สำหรับอัพเดทข้อมูลข่าวสารเว็บไซต์ ตามหน้าต่างๆดังที่กล่าวมา
ตรงนี้แหละครับเป็นจุดสำคัญ ที่ต้องมีแอดมินคอยดูแล อัพเดทเนื้อหาเว็บไซต์เพื่อ ให้เว็บมีความน่าสนใจอยู่ตลอดเวลาและถือว่าเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายเลยทีเดียวเพราะว่า เว็บแม้จะพัฒนามาดีแค่ไหนก็ตาม ถ้าไม่มีแอดมินประจำการ ที่คอยอัพเด
ทเนื้อหาที่น่าสนใจ ก็จะกลายเป็น
เว็บไซต์ร้างไปโดยทันที..
ดังนั้น Admin จึงมีความสำคัญมากเพราะว่า Admin อาจจะต้องทำหน้าที่หลายอย่างในเว็บไซต์ เช่น
1. นักสร้างเนื้อหา หรือที่เขาเรียกกันว่าสตอรี่เทลลิ่ง Story telling
2. นักสร้างวีดีโอ หรือทุกวันนี้รู้จักกันในนามว่า ยูทูปเบอร์ YouTuber
3. นักถ่ายภาพ และต้องสามารถใช้โปรแกรมตกแต่งภาพได้
4. และคุณสมบัติอื่นๆ เช่น แชทบ้อท โต้ตอบกับลูกค้าได้ อย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น
น่าเสียดายครับ ที่หลายๆคนอาจจะมองว่าแอดมินคือคนนั่งเฝ้าเว็บ จนอาจจะทำให้ Admin เว็บไซต์เป็นคนนั่งเฝ้าเว็บจริงๆไปแล้วก็ได้
สรุปว่า แอดมินเก่งๆ ก็คือ นักธุรกิจ ที่มีวิญญาณของนักการตลาดออนไลน์มืออาชีพนี่เองที่เคยสร้างสรรค์ผลงานออกมา
ขโณ โว มา อุปจฺจคา
อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่า
ประโยชน์
แล้วพบกันในตอนต่อไปครับ
#นายการตลาดทีม
#ที่ปรึกษาด้านการตลาด
เว็บไซต์ http://www.naikantarad.com
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน บทความ Series ทำไมต้องทำเว็บไซต์… ก็ได้เดินทางมาถึงตอนที่ 8 แล้ว วันนี้ ผมจะยกเรื่องของแอดมิน หรือ ผู้ที่มีหน้าที่ คอยดูแลอัพเดท เนื้อหาของเว็บไซต์ มาเล่าสู่กันฟัง…
…. ปกติการทำเว็บไซต์ จะเริ่มต้น จากการวางแผนก่อน ว่า เราจะทำเว็บไซต์แบบไหนเป็นเว็บไซต์สำหรับองค์กร เพื่อสื่อสารกับลูกค้า หรือว่า เป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์ เพื่อ ขายสินค้า..จากนั้น เว็บไซต์ก็จะถูกออกแบบ โดย web
designer (เว็บดีไซน์เนอร์) และมาประกอบรูปร่าง ขึ้นมา โดยเว็บโปรแกรมเมอร์ ซึ่งขั้นตอนตรงนี้ก็จะใช้เวลา นานพอสมควร ขึ้นอยู่กับว่า โปรแกรมเมอร์ มีความชำนาญ ในเครื่องไม้เครื่องมือ ในการสร้างเว็บ มากแค่ไหน..
โดยปกติทั่วไป เว็บไซต์ก็จะมีระบบหน้าบ้าน คือหน้าตาของเว็บ เช่น
1.หน้า แรก หรือหน้า homepage
2. หน้าเกี่ยวกับเรา
3. หน้าประชาสัมพันธ์
4. หน้าบริการของเรา
5. หน้าติดต่อเรา
หรือบางเว็บที่พิเศษหน่อย ก็อาจจะมี หน้าอื่นๆเพิ่มเติมขึ้นมา เป็น Option เสริมอีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือระบบหลังบ้าน สำหรับอัพเดทข้อมูลข่าวสารเว็บไซต์ ตามหน้าต่างๆดังที่กล่าวมา
ตรงนี้แหละครับเป็นจุดสำคัญ ที่ต้องมีแอดมินคอยดูแล อัพเดทเนื้อหาเว็บไซต์เพื่อ ให้เว็บมีความน่าสนใจอยู่ตลอดเวลาและถือว่าเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายเลยทีเดียวเพราะว่า เว็บแม้จะพัฒนามาดีแค่ไหนก็ตาม ถ้าไม่มีแอดมินประจำการ ที่คอยอัพเด
ทเนื้อหาที่น่าสนใจ ก็จะกลายเป็น
เว็บไซต์ร้างไปโดยทันที..
ดังนั้น Admin จึงมีความสำคัญมากเพราะว่า Admin อาจจะต้องทำหน้าที่หลายอย่างในเว็บไซต์ เช่น
1. นักสร้างเนื้อหา หรือที่เขาเรียกกันว่าสตอรี่เทลลิ่ง Story telling
2. นักสร้างวีดีโอ หรือทุกวันนี้รู้จักกันในนามว่า ยูทูปเบอร์ YouTuber
3. นักถ่ายภาพ และต้องสามารถใช้โปรแกรมตกแต่งภาพได้
4. และคุณสมบัติอื่นๆ เช่น แชทบ้อท โต้ตอบกับลูกค้าได้ อย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น
น่าเสียดายครับ ที่หลายๆคนอาจจะมองว่าแอดมินคือคนนั่งเฝ้าเว็บ จนอาจจะทำให้ Admin เว็บไซต์เป็นคนนั่งเฝ้าเว็บจริงๆไปแล้วก็ได้
สรุปว่า แอดมินเก่งๆ ก็คือ นักธุรกิจ ที่มีวิญญาณของนักการตลาดออนไลน์มืออาชีพนี่เองที่เคยสร้างสรรค์ผลงานออกมา
ขโณ โว มา อุปจฺจคา
อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่า
ประโยชน์
แล้วพบกันในตอนต่อไปครับ
#นายการตลาดทีม
#ที่ปรึกษาด้านการตลาด
เว็บไซต์ http://www.naikantarad.com
ทำไมต้องทำเว็บไซต์ ตอนที่ 7 เรื่อง ผสานเครื่องมือให้ลงตัว
ปีใหม่ 2561 ก้าวเข้าสู่เดือนใหม่ ปีใหม่ และการเริ่มต้นใหม่ๆ กับสิ่งดีๆ โอกาสดีๆ รอเราทุกคนอยู่เสมอ
ไม่มีใครจะโชคร้ายไปตลอด และไม่มีใครจะโชคดีตลอด แต่โชคดีและโชคร้ายจะผลัดกันเข้ามาทดสอบชีวิตเราเสมอครับ คนที่เขาโชคดีตลอด เพราะเขาเตรียมรับมือกับความโชคร้ายเอาไว้แล้วว่า จะจัดการมันอย่างไร ให้มันเป็นโอกาสของความโชค
ดีแทนครับ
มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเคยให้คำคม ข้อคิดเป็นของขวัญเอาไว้ว่า หาโอกาสในวิกฤตมันยังธรรมดาไป แต่เราควรฝึกคิด ในขณะที่เรากำลังมีโอกาสดีๆ อยู่นี้แหละว่า ถ้ามีวิกฤตหนักๆ เกิดขึ้นในตอนนี้เราจะรับมือยังไง และพยายามคิดจินตนาการไปอีกว่า
จะหาโอกาสในวิกฤตนี้ได้อย่างไร เป็นการฝึกซ้อนลงไปในความคิดอีกชั้น
มาคุยกับเรื่องที่ผมตั้งเอาไว้ว่า ผสานเครื่องมือให้ลงตัว กันต่อครับ ท่านผู้อ่านอาจจะงงว่า ผสานเครื่องมืออะไรให้ลงตัว ซึ่งในการทำเว็บไซต์ ผมชอบตรงที่ เว็บไซต์ของเรา สามารถกลายพันธุ์ได้เรื่อยๆ
โดยเครื่องมือที่ผมชอบอีกอันหนึ่ง ที่นอกเหนือไปจาก
1. การติด YouTube ในเว็บไซต์
2. การซิงค์ไลน์@ ในเว็บไซต์
3. การติด google map ในเว็บไซต์
4. การติดแฟนเพจในเว็บไซต์
5. การทำระบบลิงค์กันไปมาเพื่อเพิ่ม CTR (คนคลิกเข้าชมเว็บ)
คือ การมาติดเครื่องมือที่ชื่อว่า bot-face การติดเครื่องมือนี้มันเหมือนกับการ inbox หรือคุยผ่านแฟนเพจ เฟซบุคของเราเพียงแค่เครื่องมือนี้ยังไง มันสามารถทำให้เราคุยกับลูกค้าได้ทันทีเลยโดยที่ไม่ต้องไปที่หน้าเฟซเพื่อ inbox มา
ถาม
และจะเหมาะมากๆ สำหรับเว็บไซต์ที่เป็นแบบค็อตตาล้อค หรือโชว์รายการสินค้า ไม่พลาดโอกาสในการคุยกับลูกค้าที่สอบถามมาก่อนสั่งซื้อออนไลน์ หรือแอดสินค้าเข้าสู่ตระกร้า
และที่โชคดีไปกว่านั้น สำหรับผมแล้วคือการได้ลองใช้จริง และมีเพื่อนโปรแกรมเมอร์ได้พัฒนาเพิ่มเติมขึ้นมาอีกเพื่อง่ายในการติดตั้ง และปรับแต่งค่าต่างๆ ได้ค่อยข้างสมบูรณ์
การได้ผสานเครื่องไม้ เครืองมือต่างๆ ที่เป็นจุดเล็ก จุดน้อย อุดรูรั่ว ให้ลงตัวจึงเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับ การทำเว็บไซต์ เพราะนั้น ผมถือว่า เป็น ux/ui (ประสบการณ์คนใช้+หน้าตาเครื่องมือออนไลน์) อย่างหนึ่งเลยทีเดียว
แล้วพบกันในตอนต่อไป
ทำไมต้องทำเว็บไซต์ ตอนที่ 6 เรื่อง ทำการตลาดทางดิจิตอล
ทำไมต้องทำเว็บไซต์ ตอนที่ 6 เรื่อง ทำการตลาดทางดิจิตอล
สวัสดีครับ อากาศของสัปดาห์นี้ เย็นสบายดีมากๆ เหมาะสำหรับการออกวิ่งช่วงเช้าๆ และตามด้วยกาแฟดำและน้ำชาอุ่นๆ สักแก้ว
ครับสำหรับวันนี้ มีเรื่องมาเขียนเล่าเหมือนเช่นเคย ผมจำไม่ได้ว่า เคยฟังที่ไหน กับคำกล่าวเอาไว้ว่า
: 1 ต่อ 1,000 คือการตลาด
: 1 ต่อ 1 คือการขาย
จะว่าไปแล้ว เว็บไซต์มีคุณสมบัติเป็นเครื่องมือทางการตลาดเลยทีเดียว เพราะศักยภาพที่ทำให้คนเห็นได้ในคราวเดียวแบบ 1 ต่อ 1,000 ได้แบบสบายๆ
ก่อนหน้านี้เราจะได้ยินคำว่า
..internet marketing (อินเตอร์เน็ตมาร์เก็ตติ้ง)
..จากนั้นก็กลายมาเป็น online marketing (ออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง)
..และก็มาที่ digital marketing (ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง) คำมันเทห์และดูดีรื่นหูจริงๆ ครับ
แต่ๆๆ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าเราไม่รวบรวมมาที่การลงมือทำเป็นเว็บไซต์ขึ้นมา มันจะเป็นแค่การฟังผ่านมา และก็ผ่านไป หรือฟังเอามันส์เฉยๆ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
การลงมือทำจึงเป็นสิ่งเดียวที่จะเข้าใจและเห็นภาพการตลาดทางดิจิตอลขึ้นมาอย่างชัดเจนขึ้นครับ พูดง่ายๆ คือ เล่นจริง เจ็บจริง หรือ ทำจริง เห็นผลจริง
วัตถุดิบ ที่สำคัญเลย ในเรื่องของ การตลาดดิจิตอล คือเราต้องมี Content หลักๆ อะไรบ้าง..และเท่าที่ผมพอจะนึกได้เลยคือ
1. image content คือ รูปภาพนั่นเอง
2. text content คือ บทความเนื้อหา
3. vdo content คือ วิดีโอหรือคลิปภาพถ่าย
วัตถุดิบเหล่านี้ เป็นอาหารที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับ การทำเว็บไซต์ ที่ต้องเคยคิด และครีเอท อัพเดทเข้าไปในเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ และหน้าที่ 1 ต่อ 1,000 ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของเว็บไซต์สื่อสารออกไปครับ
จากนั้นเราจะรู้ได้เองว่า สิ่งที่เราได้ทำและสื่อสารออกไปมันเวิร์คมั้ย ถ้าใช่ก็ใส่เกียร์เดินต่อ ถ้าไม่ก็ปรับเปลี่ยน แก้ไข วิเคราะห์พูดคุยกับทีมงาน แล้วลุยใหม่ แค่นั้นเองครับ
แล้วพบกันในตอนต่อไป สำหรับวันนี้ ขอไปวิ่งรับอากาศเย็นๆ ก่อนนะครับ
ในสมัยหนึ่ง เมื่อนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์กล่าวไว้ว่า..
อจินฺติตมฺปิ ภวติ จินฺติตมฺปิ วินสฺสติ
น หิ จินฺตามยา โภคา อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา
สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้ สิ่งที่คิดไว้ ย่อมเสียหายได้
โภคะของใคร ไม่ว่าสตรีหรือบุรุษ
ที่จะสำเร็จเพียงด้วยนึกคิดเอา ย่อมไม่มี
Credit by นายการตลาดทีม
http://www.naikantarad.com
สวัสดีครับ อากาศของสัปดาห์นี้ เย็นสบายดีมากๆ เหมาะสำหรับการออกวิ่งช่วงเช้าๆ และตามด้วยกาแฟดำและน้ำชาอุ่นๆ สักแก้ว
ครับสำหรับวันนี้ มีเรื่องมาเขียนเล่าเหมือนเช่นเคย ผมจำไม่ได้ว่า เคยฟังที่ไหน กับคำกล่าวเอาไว้ว่า
: 1 ต่อ 1,000 คือการตลาด
: 1 ต่อ 1 คือการขาย
จะว่าไปแล้ว เว็บไซต์มีคุณสมบัติเป็นเครื่องมือทางการตลาดเลยทีเดียว เพราะศักยภาพที่ทำให้คนเห็นได้ในคราวเดียวแบบ 1 ต่อ 1,000 ได้แบบสบายๆ
ก่อนหน้านี้เราจะได้ยินคำว่า
..internet marketing (อินเตอร์เน็ตมาร์เก็ตติ้ง)
..จากนั้นก็กลายมาเป็น online marketing (ออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง)
..และก็มาที่ digital marketing (ดิจิตอล มาร์เก็ตติ้ง) คำมันเทห์และดูดีรื่นหูจริงๆ ครับ
แต่ๆๆ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าเราไม่รวบรวมมาที่การลงมือทำเป็นเว็บไซต์ขึ้นมา มันจะเป็นแค่การฟังผ่านมา และก็ผ่านไป หรือฟังเอามันส์เฉยๆ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น
การลงมือทำจึงเป็นสิ่งเดียวที่จะเข้าใจและเห็นภาพการตลาดทางดิจิตอลขึ้นมาอย่างชัดเจนขึ้นครับ พูดง่ายๆ คือ เล่นจริง เจ็บจริง หรือ ทำจริง เห็นผลจริง
วัตถุดิบ ที่สำคัญเลย ในเรื่องของ การตลาดดิจิตอล คือเราต้องมี Content หลักๆ อะไรบ้าง..และเท่าที่ผมพอจะนึกได้เลยคือ
1. image content คือ รูปภาพนั่นเอง
2. text content คือ บทความเนื้อหา
3. vdo content คือ วิดีโอหรือคลิปภาพถ่าย
วัตถุดิบเหล่านี้ เป็นอาหารที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับ การทำเว็บไซต์ ที่ต้องเคยคิด และครีเอท อัพเดทเข้าไปในเว็บไซต์อย่างสม่ำเสมอ และหน้าที่ 1 ต่อ 1,000 ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของเว็บไซต์สื่อสารออกไปครับ
จากนั้นเราจะรู้ได้เองว่า สิ่งที่เราได้ทำและสื่อสารออกไปมันเวิร์คมั้ย ถ้าใช่ก็ใส่เกียร์เดินต่อ ถ้าไม่ก็ปรับเปลี่ยน แก้ไข วิเคราะห์พูดคุยกับทีมงาน แล้วลุยใหม่ แค่นั้นเองครับ
แล้วพบกันในตอนต่อไป สำหรับวันนี้ ขอไปวิ่งรับอากาศเย็นๆ ก่อนนะครับ
ในสมัยหนึ่ง เมื่อนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์กล่าวไว้ว่า..
อจินฺติตมฺปิ ภวติ จินฺติตมฺปิ วินสฺสติ
น หิ จินฺตามยา โภคา อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา
สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้ สิ่งที่คิดไว้ ย่อมเสียหายได้
โภคะของใคร ไม่ว่าสตรีหรือบุรุษ
ที่จะสำเร็จเพียงด้วยนึกคิดเอา ย่อมไม่มี
Credit by นายการตลาดทีม
http://www.naikantarad.com
ทำไมต้องทำเว็บไซต์ ตอนที่ 5 เรื่อง ทำเว็บขายอะไรดี??
ทำไมต้องทำเว็บไซต์ ตอนที่ 5 เรื่อง ทำเว็บขายอะไรดี??
ในขณะที่ผมกำลังทำระบบหลังบ้านอยู่..อารมณ์ในการอยากเขียนบทความก็ผุดขึ้นมาเป็นทีๆ เพราะจากคำถามที่ส่งเข้ามาในไลน์ส่วนตัวผมว่า
…อยากฝึกทำเว็บ แต่ไม่ยากเสียเวลาเปล่า…
…อยากทำเว็บ แล้วเป็นเว็บร้านค้าออนไลน์ไปด้วย…
…ทำเว็บพอเป็นนะ แต่ไม่รู้จะทำเว็บอะไรดี…
…ทำเว็บขายของอะไรดีน่า..
…ฯลฯ
ซึ่งคำถามเหล่านี้ ผมมองว่า เป็นคำถามโลกแตก ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลย ว่า ทำแล้วมันจะเวิร์คไหม นอกเสียจากว่า เราจะได้ลงมือทำมันจริงๆจังๆเสียที
ผมอยากจะแนะนำให้รู้จักกับเครื่องมือหนึ่ง ที่จะมาบอกเราว่า ทำเว็บขายอะไรดี ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อน ยอดขายหรือว่าการสต๊อกสินค้า เป็นความลับของบริษัทเลยทีเดียว
เพราะเป็นการป้องกันคู่แข่ง ไม่ให้มา Stock ตัดราคาขายของแข่งกัน แต่ตอนนี้ มันเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนเยอะเลยครับ
ถ้าเราเข้าไปในเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ดังๆ ให้สังเกตคำนี้เลยครับ คำว่า Top Seller (ท้อป เซลเลอร์) คำนี้จะทำให้เรารู้แนวตลาดสินค้าว่า อันไหน ขายดี อันไหนขายไม่ดี และอันไหนอยู่ในกระแส
อีกคำหนึ่งคือ affiliate Marketing (แอ็ฟฟิลิแอท มาร์เก็ทติ้ง)คำนี้อยากให้ศึกษาให้ดีเลยครับ เป็นข้อมูล ในการทำเว็บไซต์เบื้องต้นชั้นดีเลยทีเดียวสำหรับคนที่อยากทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์ หรือต้องการมีธุรกิจขายสินค้าออ
นไลน์
เพราะว่า ในการทำเว็บไซต์เบื้องต้น การที่เรานำ affiliate เข้ามาใช้ จะทำให้เราได้ฝึกในการทำเว็บไซต์ และได้ฝึกการตลาดออนไลน์ไปในตัวด้วย แถมถ้าเราทำแล้วเกิดเวิร์คขึ้นมามีรายได้สบายๆ เลยทีเดียว
ทีนี้แหละ เราจะสนุกกับการทำเว็บไซต์ หรือ หรือตอบคำถามที่ว่าทำเว็บขายอะไรดี??
ก็เป็นไอเดียในบทความนี้ก็แล้วกันนะครับ
แล้วพบกันในบทความต่อไป
สทฺธา สาธุ ปติฏฺฐิตา.
ความเชื่อที่มั่นคง บรรลุถึงความสำเร็จได้.
ในขณะที่ผมกำลังทำระบบหลังบ้านอยู่..อารมณ์ในการอยากเขียนบทความก็ผุดขึ้นมาเป็นทีๆ เพราะจากคำถามที่ส่งเข้ามาในไลน์ส่วนตัวผมว่า
…อยากฝึกทำเว็บ แต่ไม่ยากเสียเวลาเปล่า…
…อยากทำเว็บ แล้วเป็นเว็บร้านค้าออนไลน์ไปด้วย…
…ทำเว็บพอเป็นนะ แต่ไม่รู้จะทำเว็บอะไรดี…
…ทำเว็บขายของอะไรดีน่า..
…ฯลฯ
ซึ่งคำถามเหล่านี้ ผมมองว่า เป็นคำถามโลกแตก ไม่มีทางที่จะรู้ได้เลย ว่า ทำแล้วมันจะเวิร์คไหม นอกเสียจากว่า เราจะได้ลงมือทำมันจริงๆจังๆเสียที
ผมอยากจะแนะนำให้รู้จักกับเครื่องมือหนึ่ง ที่จะมาบอกเราว่า ทำเว็บขายอะไรดี ซึ่งถ้าเป็นเมื่อก่อน ยอดขายหรือว่าการสต๊อกสินค้า เป็นความลับของบริษัทเลยทีเดียว
เพราะเป็นการป้องกันคู่แข่ง ไม่ให้มา Stock ตัดราคาขายของแข่งกัน แต่ตอนนี้ มันเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนเยอะเลยครับ
ถ้าเราเข้าไปในเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์ดังๆ ให้สังเกตคำนี้เลยครับ คำว่า Top Seller (ท้อป เซลเลอร์) คำนี้จะทำให้เรารู้แนวตลาดสินค้าว่า อันไหน ขายดี อันไหนขายไม่ดี และอันไหนอยู่ในกระแส
อีกคำหนึ่งคือ affiliate Marketing (แอ็ฟฟิลิแอท มาร์เก็ทติ้ง)คำนี้อยากให้ศึกษาให้ดีเลยครับ เป็นข้อมูล ในการทำเว็บไซต์เบื้องต้นชั้นดีเลยทีเดียวสำหรับคนที่อยากทำเว็บไซต์ขายของออนไลน์ หรือต้องการมีธุรกิจขายสินค้าออ
นไลน์
เพราะว่า ในการทำเว็บไซต์เบื้องต้น การที่เรานำ affiliate เข้ามาใช้ จะทำให้เราได้ฝึกในการทำเว็บไซต์ และได้ฝึกการตลาดออนไลน์ไปในตัวด้วย แถมถ้าเราทำแล้วเกิดเวิร์คขึ้นมามีรายได้สบายๆ เลยทีเดียว
ทีนี้แหละ เราจะสนุกกับการทำเว็บไซต์ หรือ หรือตอบคำถามที่ว่าทำเว็บขายอะไรดี??
ก็เป็นไอเดียในบทความนี้ก็แล้วกันนะครับ
แล้วพบกันในบทความต่อไป
สทฺธา สาธุ ปติฏฺฐิตา.
ความเชื่อที่มั่นคง บรรลุถึงความสำเร็จได้.
ทำไมต้องทำเว็บไซต์ ตอนที่ 4 เรื่อง “ทำเว็บแล้วกลัวคนไม่เข้าเว็บ”
ถูกเป้ง..ใช่เลยครับ เป็นคำถามยอดฮิตจากเพื่อนๆ ที่ผมถูกถามเป็นประจำ และผมก็จะถามกลับไปว่า ได้ทำเว็บไซต์แล้วหรือยัง เพื่อนผมก็จะ ตอบว่า..ทำแล้ว
ผมก็จะขอดูเลยทันทีว่า ทำไมทำเว็บไซต์แล้ว ถึงกลัวคนไม่เข้าเว็บ อันที่จริงมันต้องไม่กลัวสิ ถึงจะถูก (ถามกลับแบบกวนๆ)
เพื่อนตัวแสบ ก็ร่ายยาวสรุปว่า ก็คือทำเว็บแล้ว คนไม่เข้ามาชมแล้วก็ขายของไม่ได้ ปล่าๆๆๆ…
จากที่ผมได้เปิดดูเว็บไซต์ของเพื่อน ความคิดแว้บแรกมาเลยครับว่า
อ้าวเห้ย !!ขาด เยอะเลยนะนั่น เช่น
1.ไม่มีโลโก้เว็บ
2. ไม่มีหน้าข่าวสารอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ (คุยแต่เรื่องตัวเองใครจะเข้ามาดู)
3. ไม่ได้เชื่อมต่อกับช่องทางอื่นๆ เพื่อโปรโมท เช่น ไลน์, เฟซ, อินสตาแกรม หรือก็แค่ทำปุ่มเชื่อมต่อไว้ที่เทห์ๆ เท่านั้น
4. ผ่านมา 4 เดือนแล้ว ไม่ได้อัพเดทอะไรเลย(อ้าวเว็บโบราณเนี่ย ผมแอบคิดในใจแต่ไม่กล้าพูดหรอกครับ หุหุ)
5. ไม่เคยทำการโปรโมทหรือ ซื้อโฆษณาเลย (จับเสือมือเปล่าเลยน่าาา ต้องใช้ฝีมือน่าดู)
6.การจัดลำดับ ร้อยเรียงๆ คำ, ประโยคให้น่าสนใจในหน้า landing page หน้า โปรโมชั่น
และก็อีกหลายๆ อย่าง
ก็อยากจะสรุปว่าทำเว็บไซต์ มันไม่มีวันเสร็จ ในเรื่องของการอัพเดทข้อมูล จริงๆแล้วก็ต้องคอยอัพเดทปรับแต่งอยู่เรื่อยๆ เพื่อให้ทันต่อตลาดและเหตุการณ์ มันเลยต้องมีเว็บมาสเตอร์ หรือเว็บแอดมินคอยดูแล ไงล่ะครับ
และก็จริงๆ ไม่มีอะไรต้องกลัวหรอกครับ ช่วงแรกๆ คนอาจจะเข้าน้อย แต่เชื่อถึงครับ คนที่เข้ามาเพราะสนใจเว็บเราจริงๆ นั่นแหละจึงเข้ามา..สิ่งที่เราต้องทำคือต้อนรับให้ดี หรือทำเว็บเราให้สมบูรณ์ให้สุดๆ ไปเลยก็พอ
แล้วพบกันในตอนต่อไปครับ
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต.
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก .
Credit by นายการตลาดทีม
http://www.naikantarad.com
ทำไมต้องทำเว็บไซต์ ตอนที่ 3 เรื่อง เว็บไซต์ 3 วิ
เคยมั้ยครับ ที่คลิกลิงค์เข้าเว็บในไลน์ หรือเข้าเว็บไซต์ผ่านเฟซบุ๊ค จะด้วยอะไรก็แล้วแต่ เช่น สนใจหัวข้อที่เกริ่นนำแล้วอยากอ่าน อยากเสพข้อมูล โดยการคลิกเข้าไปอ่าน
จากนั้นขั้นตอนต่อไป ก็คือ การรออ่าน..ในระหว่างนี้เอง เป็นเรื่องวัดใจเลยทีเดียวสำหรับ คนทำหลังบ้านของเว็บไซต์ เพราะเราไม่รู้ว่า ผู้ชมเว็บเราได้ใช้มือถือยี่ห้อ หรือสเปคอะไร ความเร็วเน็ตแรงแค่ไหน ในการเข้ามาอ่าน
จนกว่า ผู้ใช้จะคลิกเข้ามาอ่านที่เว็บไซต์ของเรา ถึงจะมีรีพอร์ตตรวจสอบได้ว่า เป็นใครมาจากที่ไหน สนใจอ่านเรื่องอะไร ในเว็บไซต์ของเรา
คำถามที่จั่วหัวเอาไว้ว่า ทำไมต้องเว็บไซต์ 3 วิ นั่นเป็นเพราะว่า เวลาผู้ชมคลิกเข้ามา เขาจะอดทนรอข้อมูลที่เขาต้องการอ่านได้ไม่เกิน 7 วิ อย่างเก่งเลย ไม่เกิน 10 วินาที ถ้าข้อมูลไม่สำคัญจริงๆ ก็จะโบกมือลากันไปเลย และจะไม่กลับเข้ามาเยี่ยม
เยือนอีกจากสถิติ ไม่เชื่อก็ต้องลองคลิกเข้าเว็บแล้วนับในใจดูครับ 1,2,3,4….9, 10 ฯลฯ
คนทำเว็บหลังบ้าน ต้องท่องไว้ในใจในแต่ล่ะลิงค์ที่ส่งไปให้ผู้ชมเลยครับว่า 1-2-3 เปิดได้ อะไรทำนองนี้ เพื่อเป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับผู้ชมเว็บไซต์ของเรา
จึงอยากมาสรุปว่า ทำเว็บ สวยสร้าง อลังการ มโหฬาร ฟูลออฟชั่น สุดบรรยาย อาจจะมาตกม้าตายกับเรื่อง 3 วินาที นี่ก็ได้
(ปล.ผมโดยมาแล้ว)
โยคา เว ชายเต ภูริ
ปัญญา ย่อมเกิดขึ้น เพราะการฝึกฝน
แล้วพบกันในตอนต่อไปครับ
credit by นายการตลาดทีม
http://www.naikantarad.com
ทำไมต้องทำเว็บไชต์ ตอนที่ 2 เว็บไซต์ขายของออนไลน์
ทำไมต้องทำเว็บไชต์ ตอนที่ 2 เว็บไซต์ขายของออนไลน์
ต่อจากบทความที่แล้ว ตอนปฐมบท มีหลังไมค์เข้ามาบอกว่า..อยากอ่านแบบเนื้อๆ ตัดน้ำออกไปหน่อย..จริงๆ แล้วผมก็ยังชอบที่ใช้ WordPress เป็นตัวนำในการสร้างเว็บไซต์มากกว่า แต่ก็จะอนุโลมสักหน่อยตามคำขอ
สำหรับ คนที่ไม่เคยทำเว็บขายของมาก่อน ก็อาจจะมองว่าง่ายไม่เห็นจะมีอะไร ก็แค่โพสต์รูปสินค้าและราคาแค่นั้น (ขายได้หรือเปล่ายังไม่รู้)
บางคนก็มองว่า สร้างเว็บไซต์เอง ไม่มีความจำเป็นแล้ว เพราะไปขายในเฟซได้ หรือที่อื่นๆ เช่น ลาซ่าด้า เป็นต้น ซึ่งที่ว่ามา ก็ยังเป็นเว็บไซต์อยู่ดี แต่เป็นพื้นที่ของคนอื่นเค้า
ไม่อยากบอกว่า เปิดร้านขายของเป็นของตนเอง และไปเช่าที่ขายในตลาด ถ้า ทำได้ทั้ง 2 ที่ ก็ควรที่จะทำ เพราะสามารถหาลูกค้าได้ ทั้ง 2 แห่งเลย
ทําเว็บขายของออนไลน์ เท่าที่นึกได้เป็นข้อข้อจะมีดังนี้
1 domain name + hosting ต้องพร้อม
2 wordpress + woocommerce
3 ข้อมูลสินค้า + รูปภาพ + ราคา
4 บทความเงื่อนไขและหน้าติดต่อ
ข้อต่างๆเหล่านี้ ก็พอที่จะทำให้เห็นหน้าต่าง หรือหน้าตา เว็บขายของออนไลน์ได้คร่าวๆ แล้ว.. แต่ยังก่อนเรื่องยังไม่จบแค่นั้น
เปิดร้านขายของทั่วไป มีลูกค้าเดินผ่านมาหยิบของดูแล้วตัดสินใจซื้อ และจ่ายตังค์ ถือถุงหิ้วออกไปมันดูง่ายไม่มีอะไร ลูกค้าจับต้องได้
แต่ในร้านขายออนไลน์เรื่องแบบนี้ โคตรยากสุดๆ ซึ่งมันอาจจะต้องใช้ระบบ COD หรือเรียกหรูๆ ว่า Cash on Delivery คือบริการเก็บเงินปลายทางนั่นเอง ที่ต้องไปทำสัญญากับบริษัทขนส่ง เพื่อให้เขาไปส่งของพร้อมเก็บเงินมาให้เรา
อันนี้ยังไม่รวมไปถึงการโปรโมทเว็บร้านค้าออนไลน์ การทำ PR Online การทำคลิปวีดีโอ การเขียนบทความที่เป็น DNA ในแบบฉบับของเรา และยังมีเรื่องอื่นๆเช่นหลังบ้าน การส่งของแบบรวดเร็ว การเคลมสินค้าใหม่ บริการหลังการขายที่มี
คอลเซ็นเตอร์จะบริการแบบ 24 ชั่วโมง เป็นต้น
ดังนั้นพื้นฐานของบริษัทที่ขายของแบบมีหน้าร้านปกติ จะไปได้เร็วขึ้นในเรื่องออนไลน์ เพราะมีเรื่องหลังบ้านและทีมงานอยู่แล้ว จะไม่เหมือน SME ซุปเปอร์ฮีโร่ฉายเดี่ยว ที่กระโดดมาทำเว็บขายของออนไลน์
..ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ง่ายเลย ใช้เวลา ต้องลงทุนและทุ่มเทกันเป็นอย่างมาก และต้องมีทีมงานที่ฝึกอบรมในเรื่องออนไลน์มาพอสมควรเพื่อให้ทันต่อตลาด
ซื่อสัตย์ ใฝ่เรียนรู้ ฝึกฝนอดทน แล้วพบกันในตอนต่อไปครับ Credit by นายการตลาดทีม
http://www.naikantarad.com
ต่อจากบทความที่แล้ว ตอนปฐมบท มีหลังไมค์เข้ามาบอกว่า..อยากอ่านแบบเนื้อๆ ตัดน้ำออกไปหน่อย..จริงๆ แล้วผมก็ยังชอบที่ใช้ WordPress เป็นตัวนำในการสร้างเว็บไซต์มากกว่า แต่ก็จะอนุโลมสักหน่อยตามคำขอ
สำหรับ คนที่ไม่เคยทำเว็บขายของมาก่อน ก็อาจจะมองว่าง่ายไม่เห็นจะมีอะไร ก็แค่โพสต์รูปสินค้าและราคาแค่นั้น (ขายได้หรือเปล่ายังไม่รู้)
บางคนก็มองว่า สร้างเว็บไซต์เอง ไม่มีความจำเป็นแล้ว เพราะไปขายในเฟซได้ หรือที่อื่นๆ เช่น ลาซ่าด้า เป็นต้น ซึ่งที่ว่ามา ก็ยังเป็นเว็บไซต์อยู่ดี แต่เป็นพื้นที่ของคนอื่นเค้า
ไม่อยากบอกว่า เปิดร้านขายของเป็นของตนเอง และไปเช่าที่ขายในตลาด ถ้า ทำได้ทั้ง 2 ที่ ก็ควรที่จะทำ เพราะสามารถหาลูกค้าได้ ทั้ง 2 แห่งเลย
ทําเว็บขายของออนไลน์ เท่าที่นึกได้เป็นข้อข้อจะมีดังนี้
1 domain name + hosting ต้องพร้อม
2 wordpress + woocommerce
3 ข้อมูลสินค้า + รูปภาพ + ราคา
4 บทความเงื่อนไขและหน้าติดต่อ
ข้อต่างๆเหล่านี้ ก็พอที่จะทำให้เห็นหน้าต่าง หรือหน้าตา เว็บขายของออนไลน์ได้คร่าวๆ แล้ว.. แต่ยังก่อนเรื่องยังไม่จบแค่นั้น
เปิดร้านขายของทั่วไป มีลูกค้าเดินผ่านมาหยิบของดูแล้วตัดสินใจซื้อ และจ่ายตังค์ ถือถุงหิ้วออกไปมันดูง่ายไม่มีอะไร ลูกค้าจับต้องได้
แต่ในร้านขายออนไลน์เรื่องแบบนี้ โคตรยากสุดๆ ซึ่งมันอาจจะต้องใช้ระบบ COD หรือเรียกหรูๆ ว่า Cash on Delivery คือบริการเก็บเงินปลายทางนั่นเอง ที่ต้องไปทำสัญญากับบริษัทขนส่ง เพื่อให้เขาไปส่งของพร้อมเก็บเงินมาให้เรา
อันนี้ยังไม่รวมไปถึงการโปรโมทเว็บร้านค้าออนไลน์ การทำ PR Online การทำคลิปวีดีโอ การเขียนบทความที่เป็น DNA ในแบบฉบับของเรา และยังมีเรื่องอื่นๆเช่นหลังบ้าน การส่งของแบบรวดเร็ว การเคลมสินค้าใหม่ บริการหลังการขายที่มี
คอลเซ็นเตอร์จะบริการแบบ 24 ชั่วโมง เป็นต้น
ดังนั้นพื้นฐานของบริษัทที่ขายของแบบมีหน้าร้านปกติ จะไปได้เร็วขึ้นในเรื่องออนไลน์ เพราะมีเรื่องหลังบ้านและทีมงานอยู่แล้ว จะไม่เหมือน SME ซุปเปอร์ฮีโร่ฉายเดี่ยว ที่กระโดดมาทำเว็บขายของออนไลน์
..ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ง่ายเลย ใช้เวลา ต้องลงทุนและทุ่มเทกันเป็นอย่างมาก และต้องมีทีมงานที่ฝึกอบรมในเรื่องออนไลน์มาพอสมควรเพื่อให้ทันต่อตลาด
ซื่อสัตย์ ใฝ่เรียนรู้ ฝึกฝนอดทน แล้วพบกันในตอนต่อไปครับ Credit by นายการตลาดทีม
http://www.naikantarad.com
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)